ข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

             ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
        การสื่อสาร
กฎของการแชท
  • ไม่สามารถเชื่อได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนอย่างที่เค้าพูด
  • อย่าให้ชื่อจริง ควรใช้ชื่อสมมุติ
  • อย่าให้ข้อมูลว่าคุณอยู่ทีไหน หมายเลขโทรศัพท์ (โทรศัพท์มือถือ) เรียนอยู่ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร
  • ทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงกฎของแต่ละห้องแชท ที่จะเข้าไปเล่น
  • ให้จำไว้ว่าคุณอาจเป็นบุคคล นิรนามในอินเทอร์เน็ต แต่บ่อยครั้งที่คนอื่นสามารถสืบเสาะได้ว่าใครเป็นคนใส่ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ต้องมีความสุภาพกับผู้อื่นเสมอ
    กฎของการแชท การสื่อสารทางออนไลน์
  • ไม่ออกไปพบกับบุคคลที่พบ รู้จักสื่อสารผ่านทางออนไลน์
  • ถ้ารู้สึกถูกกดดัน จากการสื่อสารออนไลน์กับใคร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ
  • ให้ชื่ออีเมล์กับเพื่อนที่รู้จักดี ไม่ควรให้กับคนแปลกหน้า
  • ปรึกษา หารือกับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบเสมอ อย่าให้ถูกหลอกล่อ หรือถูกกดดันเพื่อไปพบเจอกับคนที่รู้จักออนไลน์
  • หากถูกใครหรือสิ่งใดรบกวนในห้องแชท ให้รีบออกจากการสนทนา และอย่าติดต่อ สนทนาอีก
    ระเบียบข้อบังคับ
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ชื่อเพื่อนหรือผู้ปกครอง
  • ไม่นัดแนะเพื่อพบปะกับบุคคลที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่บอกผู้ปกครอง
  • ไม่ส่งรูปหรือข้อมูลส่วนตัวให้กับคนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
  • ไม่ให้ความสนใจหรือตอบโต้กับคนที่ถ้อยคำหยาบคาย
  • ไม่โหลดสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือเปิดเอกสารจากอีเมล์ของคนที่เราไม่รู้จัก
  • หากพบข้อความหรือรูปภาพรุนแรง ให้รีบแจ้งผู้ปกครองหรือคุณครู
  • เคารพในกฎระเบียบ นโยบาย หรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับผู้ปกครองและคุณครูในการใช้อินเตอร์เน็ต
    กฎหมาย
       เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายตัวใหม่ที่กำลังจะออกมาใช้บังคับกันในอนาคต ทั้งนี้
       สืบเนื่องมาจากในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีอัตราการขยายตัวที่ มากขึ้น และเป็นการเติบโตที่รวดเร็วแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนับล้านคนในประเทศไทย อีกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC: Personal Computer ) ก็ดูเหมือนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปซะแล้ว สังเกตได้จากตามออฟฟิศ สำนักงานต่างๆหรือ แม้แต่ตามบ้านพักอาศัย ล้วนแต่มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานด้วยเสมอ ซึ่งดูๆไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป
          เมื่อเกิดมีสังคมทางอินเทอร์เน็ตดังกล่าวขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการบางอย่างเพื่อจะใช้บังคับให้คนในสังคม Cyber อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เช่นเดียวกับสังคมในชีวิตจริงของเรา โลกจำลองของสังคม Cyber นั้นนับวันยิ่งใกล้เคียงโลกของจริงเข้าไปทุกที ด้วยเหตุนี้จึงเกิดมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น
สืบเนื่องจากเมื่อวัน ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ตามหนังสือที่ นร. 0212/2718 โดยมีเป้าหมายหลักคือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย ซึ่งได้กำหนดหลักการสำคัญไว้ว่า “รัฐจะต้อง….พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้น ฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”
          ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็มีการตื่นตัวต่อการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศ เช่น ในปี ค.ศ. 1997 ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบาย “ Toward the Age of Digital Economy “ สหรัฐอเมริกาประกาศนโยบาย “ A Framework for Global Electric Commerce “ และสหภาพยุโรปประกาศนโยบาย “ A European Initiative in Electronic Commerce” เป็นต้น
          นอกจากนั้นองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การการค้าโลก ( WTO ) และสหประชาชาติ ( United Nation ) ก็ให้ความสนใจจัดให้มีการประชุมเจรจาจัดทำนโยบายและรูปแบบของกฎหมายเกี่ยว กับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีการจัดทำกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่อไป
          กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นของสังคม (Social Necessity) และเพื่อให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Solidarity) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ตระหนักในปัญหาของประเทศชาติและความสำคัญของกฎหมายดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย (Legal Infrastructure) โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

   1. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law): เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
   2. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ Computer Relate Crime): เพื่อคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอันถือเป็นทรัพย์ที่ ไม่มีรูปร่าง (Intangible Object)
   3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce): เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต
   4. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI): เพื่อที่จะเอื้อให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
   5. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law): เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในอันที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อการลง ลายมือชื่อ
   6. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer): เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างหลักประกันที่มั่นคง
   7. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law): เพื่อวางกลไกในการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีประมิทธิภาพ ทั้งสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง (Universal Service)
   8. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
   9. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับอินเทอร์เน็ต
  10. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
            ปัจจุบันได้มีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศออกมาประกาศใช้แล้ว 1 ฉบับคือ พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2545 ซึ่งได้รวมเอากฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยกฎหมายดังกล่าวและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 ที่ผ่านมา
ทั้ง นี้ กฎหมายดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์อย่างมากทั้งต่อตัวผู้กระทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์และแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เพราะกฎหมายดังกล่าวได้ระบุเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปของสื่อ อิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วย (เดิมปรับใช้จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)
ประเด็นสำคัญในการ สร้างความเชื่อมั่นของผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ การพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เข้าใจใน เบื้องต้น และศึกษาถึงธรรมเนียมประเพณีและสังคมการพาณิชย์ของไทย รวมทั้งปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
สภาพปัญหาในปัจจุบันคือ กฎหมายไทยไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนไม่มั่นใจในการทำการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเหตุความไม่มีประสิทธิภาพของระบบและโครงสร้าง ความไม่มั่นใจจากการถูกรบกวนและแทรกแซงจากบุคคลภายนอกผู้ไม่หวังดี รวมถึงความหวาดกลัวต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีมากในประเทศของเรา
ประกอบ กับผู้ใช้งานยังมีความกังขาในข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่ เกิดจากการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ว่าจะมีผลผูกพันเพียงใด ทั้งจะมีการยอมรับการสืบพยานในศาลได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการทำธุรกรรมใน ประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

จริยธรรม
            เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อ สังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณารวม ทั้งเรื่องความปลอดภัยของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหากไม่มีกรอบ จริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อ ป้องกันปัญหาดังกล่าว
ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
       คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมในแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”
       “มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูกและหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ (Laudon & Laudon, 1999:105)
กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
        หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
     R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึง ข้อมูลสารสนเทศ
การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
  • ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
  • สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
         ทรัพย์สินทาง ปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
         ลิขสิทธิ์ (Copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไปมีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้าง สรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรกในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุ เพียง 28 ปี
        สิทธิบัตร (Patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี
ยกตัวอย่างคนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิด
clip_image001

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น